การปริกมฺ คือการฝึกสร้าง "สัจจะ"
หมายถึงการฝึกให้ วาจา กับ ใจ ให้พร้อมกัน เรียกว่า การถึงพร้อมด้วยวจีสังขาร และ มโนสังขารพร้อมเป็นหนึ่งเดียวกัน พระพุทธองค์จึงทรงให้พุทธบริษัทฝึกปริกมฺ เพื่อสร้างให้เกิด "สัจจ" คือวาจาอันเปล่งออกมาพร้ดมกับใจ ซึ่งเป็น "อริยศีล" เป็นก้าวแรกของพระอริยบุคคล ที่ถึงพร้อมด้วยสัจจะ เรียกว่า "สัจจวาจา" เป็นองค์มรรค เรียกว่า "สัมมาวาจา" จึงเป็นเมล็ดที่จะผลิดอก ออกต้น เป็นผลให้ถึงซึ่ง "สัจจธรรมคือ "พระนิพพาน" พระพุทธมนต์ที่พรพพุทธองค์ประทานให้ใช้ประริกมฺนี้น เรียกว่า บทแก้วสารพัดนึก(รัตนสูตร) ใช้สำหรับฝึกปริกรรมตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" จะได้ผลจริงแท้ทุกประการ เฉพาะผู้มี "สัจจะ" เท่านั้น เป็นเครื่องมือกำจัดความโลภะ หลงผิด เข้าถึงสัจจะความจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นล้วน เป็นสมมุติ สามารถที่จะกำหนดสร้างขึ้นเองได้ด้วยอำนาจแห่ง "สัจจะวาจา" นี้คือกุศโลบาย ใช้กำจัดโลภะมูลจิต นั้นแลฯ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การสวดมนต์ สำคัญต่อนักปฎิบัติอย่างไร ?



อนุสนธิจาก ที่ได้ชี้นำให้ท่านทั้งหลาย ได้สาธยายมนต์ สวดพระปริตร อันมีบทพุทธคุณเป็นเบื้องต้น เป็นอภิมหาศุภมงคล ดังกล่าวนั้น

หลาย ๆ ท่านคงยังไม่ทราบ หรือบางท่านคงได้ทราบมาแล้วแต่เลือนลางไป ก็จะขอนำเอาความสำคัญแห่งการสาธยายมนต์ หรือที่เราเรียกว่า "สวดมนต์" นั้น มีความสำคัญอย่างไร และมีอานิสงค์อะไร กับนักปฏิบัติตามพุทธวิถี "สติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค" โดยย่อ ๆ  ดังนี้

การทำสมาธิ หมายถึง "การรวม" กาย วาจา และใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ในชั้นแรก ต้องรวมปากกับใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันเสียก่อน ซึ่งทำได้โดยการฝึกหัดอ่านหนังสือในใจ ให้เสียงใจ กับเสียงปาก เป็นเสียงเดียวกัน เรียกว่า "การถึงพร้อมด้วย วจีสังขาร และมโนสังขาร

การสวดมนต์ คือการฝึกหัดขั้นขั้นที่สองของการปฏิบัติ ปากกับใจตรงกัน เรียกว่า "ปริตฺ" แปลว่า เปล่งเสียง เป็นที่ที่มาของคำว่า "ปาก มาจากคำว่า ปริตเอาแต่ตัว ป  ทำเป็นทีฆ=ลากเสียงยาว เป็น ปา ใส่ เอามาจากคำว่า กมฺม = กระทำ รวมคือ ส่วนที่กระทำให้เกิดเสียง เป็นศัพท์เรารู้จักคือ "ปาก"

เมื่อปากกับใจตรงกัน ก่อให้เกิดสมาธิ เรียกว่า ปริกรรม ภาษาบาลีเขียนว่า ปริกมฺ 

ซึ่งปริกรรมนี้เราจะเห็นทั่วไปในเอกสารคัมภีร์โบราณเมื่อกล่าวถึงโยคีผู้มีฤทธิ์ โยคี หรือ โยคาวจร ผู้ปฏิบัติย่อมมีฤทธิ์เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจแห่งสมาธิพละ อันเกิดจากการรวมเป็นหนึ่งของ วาจา(ปาก) กับ ใจ(กายในกาย)

เมื่อปาก(วาจา=วจีสังขาร)รวมกับ ใจ(มโนสังขาร=กายในกาย) นี้ โยคาวจรนั้นย่อมเปล่งวาจาอธิษฐาน ให้สิ่งต่าง ๆ อันประสงค์(ซึ่งล้วนแล้วอยู่ภายใต้กฏแห่งการสมมุติทั้งสิ้น=เกิดจากธาตุทั้ง 4 ที่รวมตัวกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ กัน) ผู้ปฏิบัติสำเร็จในส่วนของปริกรรม รวมวาจากับใจเป็นหนึ่ง จึงเรียกว่าเป็นผู้มี "วาจาสิทธิ์" สามารถเนรมิต และกำหนดเหตุการณ์ได้ดั่งวาจาที่เปล่งออกไป

ก็อาจจะมีคำถามจากผู้สงสัยว่า เพียงแค่ปริกรรม(ภาษาสันสกฤตเรียก บริกรรม) นี่นะ สามารถทำให้เกิด "วาจาสิทธิ์" ได้ ต้องตอบว่า "ถูกต้อง" เพราะการเปล่งวาจาพร้อมกับใจ แล้วอธิษฐาน สิ่งที่ต้องการ หรือเหตุการณ์นั้น ๆ ย่อมเป็นไปตามวาจา หรือ ตามประสงของโยคาวจรนั้น

หากจะกล่าวกันในเชิงลึกสำหรับทางปฏิบัติ ถึงเหตุและผลอันทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้น มีคำอธิบายได้ว่า " เพราะโยคาวจร ผู้ได้บรรลุแล้ว ผนวกให้เป็นหนึ่งแล้ว ระหว่างวาจา กับ ใจ  ย่อมควบคุมธาตุทั้ง๑๘ ได้สิ้นเชิง พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "ธาตุกุศลตาบุคคล" คือผู้ปริฏิบัตินั้นย่อมมีพลังพิเศษเกิดขึ้นในภาวะแห่งมหคตจิต(จิตอันมีพลังยิ่งใหญ่สุดเปรียบประมาณ) ชื่อว่า "ปริกมฺมจิต" เป็นสภาวะพิเศษ ทำให้วาจาที่ถึงพร้อมด้วยใจนั้น เป็น "สัมมาวาจา" มีอานุภาพเหนือธรรมชาติ อันเกิดจากอำนาจแห่งอุปจารสมาธิ ส่งผลให้สิ่งที่วาจาเปล่งออกมานั้น เป็นจริง ตามที่โยคาวจรผู้ปริกมฺม ปรารถนา

ตัวอย่างเช่นที่เราปฏิบัติสติปัฏฐาน-ปฏิสัมภิทามรรค คือการกำหนดระลึกรู้อารมณ์ของอักขระ(หนึ่งพยางค์=๑ ดวงจิต)ด้วยความสามารถแห่งอารมณ์ (โดยบังคับด้วยภาวนาเสียงของกายใยกาย + ลมหายใจ) มีอตีตมหันตารมณ์เป็นต้น อักขระ(จิตดวงหนึ่งๆ) มี ๓ ขณะ ด้วยสามารถคือ
๑. อุปาทขณะ = ขณะลมหาใจเข้า เกิดลมหาใจ เรียกว่า อัสสาสะ
๒. ฐิติขณะ = ขณะที่ทรงลมหาใจไว้ ระงับ อัสสาสะ-ปัสสาสะ
๓. ภังคขณะ = ขณะที่ลมหาใจออก ดับไป ปัสสาสะ

ทั้ง 3 ขณะย่อมอยู่ในระหว่างปริกรรม=ออกเสียง ของ ปาก(วจีสังขาร) กับ ใจ(มโนสังขาร)

ก็ขณะจิตทั้งหลายทั้งเหล่านั้นนั้นมี ๑๗ ขณะจิต มี มโนทวาร(ใจ)ควบคุมไว้ด้วยสามารถ ๑ รวมเป็น ๑๘ เป็นอายุแห่งรูปธรรมในสังสารวัฏทั้งหลาย นี้คือ๑๘ อักขระ แห่งการปริกรรม
อันก่อให้เกิดสมาธิพละ ซึ่งโยคาวจรย่อมใช้การระลึกรู้อารมณ์ (เรียกว่าสติ)
มีปริกมฺ คือ อักขระนะโม ทั้ง ๑๘ คุมขณะจิตแต่ละดวง ตวบคุมธาตุครบทั้ง ๑๘

ด้วยเหตุนี้นับพุทธกาลเป็นต้นมา จีงใช้นะโมเป็นตัวปริกรรม (โดยเฉพาะใช้ปริกมฺมขึ้นต้นในมนต์ทั้งปวง) เพราะเป็นภาษาของเทพเทวา ซึ่งได้รจนาถวายแก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเรียกว่าเป็น"ภาษาเทพ" ก็ไม่ผิด และการเปล่งวาจา "นะ โม ตัส สะ ภะ คะ วะ โต อะ ระ หะ โต สัม มา สัม พุท ธัส สะ" แต่ละพยางค์ เสียงนั้นจะต้องออกมาจาก "ใจ(มโนทวาร) ไม่ใช่เปล่งออกมาจากปาก เพราะคลื่นเสียงของ "ใจ" เป็นระดับเดียวกับคลื่นของโอปาติกะ(เทวดา) ดังนั้น จึงต้องสัมปยุตคลื่นของ วาจา กับ ใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน นัยยะหนึ่งนั้น ก็เป็นอนุสติ(ระลึก)ข้อแรก คือ เทวตานุสติโดยปริยาย

ดังนั้น เสียงจึงต้องต้องออกจาก "ฐานที่ตั้งของใจ" ประสานกับเสียงที่ออกจากปาก คือ วาจา(วจีสังขาร) เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อชำนาญจากการฝึกให้ วาจา+ใจ ถึงพร้อม ในลักษณะพฤติเช่นนี้ ก็ใช้ในการสาธยายมนต์ สวดพระปริตร ในบทที่ยาวขึ้น เป็นการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ คล่องแคล่วในการสัมปยุตเสียงของ วจีสังขาร(ปาก) กับ ใจ(มโนสังขาร) ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

การควบคุมวาระจิต ต้องใช้ "สติ ระลึกรู้อารมณ์" เพราะจิตทำหน้าที่เป็นเพียง "ตัวรับรู้" เท่านั้น...
ถามว่า สติใช้อะไรเป็นเครื่องช่วยระลึก คำตอบคือ คำปริกมฺ ๑๘ ตัว คือ นะโม...
ซึ่งนอกจากจะคุมจิตให้อยู่ในอำนาจแล้ว ยังคุมธาตุทั้ง ๑๘ อีกด้วย ....

และด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันเกิดจากปริกมฺนี้ ยังให้เป็นอานิสงค์ให้ผู้บรรลุถึงขั้นนี้(เสียงปากกับใจตรงกัน)นั้น เมื่อสิ้นอายุขัยย่อมไปบังเกิดในพรหมโลก ชั้นปริตาพรหม ดังปรากฏในพระไตรปิฏก นั้นแลฯ

การสัมปยุตรวมกันของวาจา(วจีสังขาร) กับ ใจ(มโนสังขาร) เป็นหนึ่งเดียว คลื่นเสียงที่เปล่งออกมานั้นเรียกว่า "สัจจะวาจา" จัดเป็น "อธิศีล" คือ ศีลของพระอริยะ (คือศีลของกายในกาย)

โยคาวจรผู้ซึ่งบรรลุถึง "อธิศีล" นี้เท่านั้น จึงจะสามารถเปลี่ยนสภาวะของตนจากมนุษย์ธรรมดา ไปเป็น "พุทธบุตร" โดยใช้สัจจะวาจา เปล่งคลื่นเสียงนั้นด้วยคำปริญญาว่า

    " อิมาหัง ภันเต ภควา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจชามิ...ข้าพพระพุทธเจ้า ขอมอบกาย ถวายชีวิต และ ภพชาตินี้ เป็นพุทธบูชา"

    ด้วยพลังแห่งปริกมฺมจิต อันเป็นสัจจะวาจาซึ่งเป็นอธิศีลนั้น ยังให้โยคาวจร ผู้ถึงพร้อมด้วยอธิศีลจึงเปลี่ยนสภาวะจากมนุษย์ธรรมดา ไปเป็น "พุทธบุตร" นับแต่วินาทีนั้น

  ปวงพรหมทุกชั้นฟ้า เทพยดาทุกวิมาน ย่อมอำนวยอวยชัยอนุโมทนามัยในมหากุศล อันโยคาวจรนั้นได้ปฏิบัติถึงพร้อมด้วยอธิศีล (จึงเรียกว่า "ผู้ทรงศีล") ปวงเทพทั้งหลายย่อมดูแล อนุรักษ์พิทักษ์ภัย ปัดเป่าภยันตราย สิ่งชั่วร้ายทั้งปวงให้ปราศจากไป แม้ว่าปรารถนาสิ่งใด ปวงเทพก็จัดหาให้ เพื่อให้โยคาวจรนั้นปราศจากทุกข์กังวล ทั้งกายใจ จะได้มุ่งมั่นปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูงยิ่งขึ้นไป ปวงเทพยดาทั้งหลายก็จะได้รับบุญกุศลจากโยคาวจรผู้ปฏิบัตินั้น

ดังนั้น การสวดมนต์(ปริกรรม) จึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับนักปฏิบัติ เพราะหากไม่สามารถฝึกให้ วาจา(ปาก) กับใจ(กายในกาย) ออกเสียงตรงกัน คือเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้ คือ ปราศจากสัจจะวาจา ไม่ประกอบด้วยอธิศีล " ก็ไม่อาจที่จะกล่าวคำอธิษฐานใด ๆ ได้" เพราะไม่สามารถเปลี่ยนฐานะจากมนุษย์ธรรมดา เป็นพุทธบุตรได้ พูดให้เข้าใจง่ายคือ ปากกับใจไม่ตรงกัน คือ ตะโกนปาว ๆ  อิมาหัง แต่ปาก ให้คอแตกตาย ก็อธิษฐานไม่สำเร็จโดยสิ้นเชิง

ฉะนั้น การที่สาธุชนทุกท่านได้เพียรมานะฝึกฝนสวดมนต์ปริกรรม จึงมีความสำคัญ ต่อชีวิต ทั้งภพนี้และภพไหน ๆ แม้ปราถนาสิ่งใด ๆ อันเป็นมนุษยสมบัติ ก็ย่อมได้สมปรารถนา ทุกประการ

ขอความก้าวหน้า เจริญในธรรมปฏิบัติ ชีวิต ธุกิจการงาน เกษมสำราญทุกทิวาราตรี เทอญ เจริญพร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS